ในอดีต
ต้นชาจะถูกให้ขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้นชาแต่ละต้นจึงมีความสูงตั้งแต่ 10 เมตร
ขึ้นไปจนถึง 25 เมตร ทำให้การเก็บใบชาเป็นไปด้วยความลำบาก
เผลอๆอาจจะตกลงมาคอหักตายก็ได้ เล่ากันว่า
ชาวไร่จึงจับลิงมาฝึกให้รู้จักเด็ดยอดอ่อนของใบชา และโยนลงมาข้างล่างให้เจ้าของเก็บใส่ตะกร้าอีกที
เหมือนกับคนปักษ์ใต้บ้านเราที่ฝึกลิงให้ขึ้นไปปลิดลูกมะพร้าวโยนลงมาให้
ฟังดูแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้
แต่คิดดูอีกทีถ้าเราสามารถฝึกลิงให้รู้จักเลือกลูกมะพร้าวที่แก่และปลิดลงมาให้เจ้าของได้
ผู้เขียนคิดว่า ฝึกน่ะฝึกได้ แต่ผลที่ได้จากการให้ลิงขึ้นไปเด็ดยอดอ่อนโยนลงมา
จะได้ผลแค่ไหน คงเป็นคำถามที่น่าคิด อาจจะเป็นไปได้ว่า
เด็ดใบลงมาให้หมดและให้เจ้าของไปเลือกเอาเองว่ายอดไหนใช้ได้ ยอดไหนใช้ไม่ได้
นี่ก็เป็นเรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่งในประวัติใบชาของจีน
ปัจจุบัน
ต้นชาได้รับการตกแต่งให้กลายเป็นไม้พุ่มที่มีความสูงไม่เกิน 1.50 เมตร
จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องปีนขึ้นไปเก็บ ชาวไร่สามารถเดินเก็บได้อย่างสบาย
ดังนั้นแรงคนจึงนำมาทดแทนแรงลิง
ปัจจุบันไร่ชาเกือบทุกแห่งจะใช้แรงงานคนในการเก็บใบชา
มีเจ้าของไร่ชาบางแห่งได้พยายามใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยในการเก็บยอดชา
แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ แรงงานคนจึงยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับไร่ชา
การเก็บใบชาที่ถูกต้อง
คนงานที่เด็ดใบชาจะมีตะกร้าสำหรับใส่ใบชาที่เด็ดแล้วสะพายหลังคล้ายเป้
การเด็ดต้องอาศัยความรวดเร็วและต้องอาศัยความชำนาญในการเด็ด
คนงานจะเด็ดใบชาด้วยมือทั้ง 2 ข้างควบคู่กันไป และโยนใบชาที่เด็ดได้ข้ามศรีษะให้ตกลงไปในตะกร้า
การเด็ดใบชา จะเด็ดตอนเช้าตรู่ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เมื่อเด็ดแล้วชาวไร่ก็จะทิ้งช่วง
เพื่อให้ต้นชาแทงยอดอ่อนออกมาใหม่ จึงเวียนมาเด็ดอีกครั้งหนึ่ง
การเด็ดใบชาจากต้นชาวไร่จะเด็ดเฉพาะยอดอ่อนที่มียอดหรือใบตูม
และมีใบที่ต่ำจากยอดตูมลงมา 2 ใบเท่านั้น คนงานที่ชำนาญจะสามารถเด็ดใบชาได้ 25
– 30 กก. ต่อวัน
ค่าแรงในการเด็ดจะคิดจากปริมาณใบชาที่เด็ดได้และคุณภาพของใบชาที่เด็ดมา
ต้นชาต้นหนึ่งสามารถผลิตยอดอ่อนออกมาได้ปีละประมาณ 70 กก.
ใบชาสด 1
กก.
ที่เด็ดมาได้ เมื่อผ่านขั้นตอนต่างๆเรียบร้อยแล้วจะหนักและเหลือเพียง 200 –
250 กรัม
เท่านั้น
ที่มา : หนังสือ "ชา..Cha เลือกชาดื่ม ซื้อชาเป็น
ขอบคุณเจ้าของภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น