Art Of Tea Lovers
ศิลปะของคนรักชา
Photo : thai.cri.cn
ในบางที่บางแห่งการดื่มชาอาจจะคล้ายกับบ้านเรา
แต่สำหรับบางที่ก็ทำให้รู้สึกแปลกใจและบางที่ก็เย้ายวนน่าปรารถนาได้ลองจิบดูบ้าง
จีน
ในจีนนั้นมีวิธีการเตรียมชา
การเสิร์ฟชาและการดื่มหลากหลายวิธีการตามวัฒนธรรมของแต่ละมณฑล
เช่นคนจีนทางตอนใต้ของซินเจียง (Xinjiang) จะดื่มน้ำชาธรรมดา
ขณะที่คนจีนทางตอนเหนือเช่นชาวมองโกเลียนิยมเติมนมและเกลือ
ส่วนทางตอนใต้จะเติมพริกไทย
หลายคนดื่มชาโดยใช้ช้อนตัก
และซดเสียงดังๆ ซึ่งถือว่าได้ซาบซึ้งกับรสชาติอย่างเต็มที่
แต่ในปัจุบันการดื่มชาอยางนั้นถือว่าไม่สุภาพ คนจีนถือว่าน้ำชาเป็นเครื่องดื่มที่มีความสำคัญในพิธีต่างๆ
photo : pantip.com/topic/32902182
ญี่ปุ่น
พิธีชงชาของญี่ปุ่น
เรียกว่า ชะโนยุ (Chanoyu) ชาเริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายในญี่ปุ่นโดย ภิกษุนิกายเซนชื่อ ท่านเอไซ จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้นั่งเข้าฌานได้นานๆ
ด้วยเหตุนี้พระจึงนิยมดื่มกันก่อนชาวบ้านทั่วไป ชาเขียวที่นิยมดื่มได้แก่ เซนชะ (Sencha), โฮจิชะ (Houjicha), บันชะ (ancha)
และชาที่ถือว่าเป็นชาชั้นเยี่ยม คือ เกียวกุโระ (Gyokuro)
และท่านเอไซก็เป็นผู้ริเริ่มพิธีชงชา ที่เรียกว่า วะบิชะ (Wabicha)
ชะโด (Chado)
แปลว่าวิถีแห่งชา คือพิธีการชงชาที่มีพื้นฐานมาจากความเคารพ
และชื่นชมความงามของสรรพสิ่งในวิถีชีวิต
ส่วนท่านเซนโนะ
ริคิว (Sen no Rikyu) เป็นผู้หนึ่งที่มีชื่อเสียงในการชงชา
ลูกหลานของท่านได้ตั้งสำนักเซนเคะ (Senke) ซึ่งทำให้พิธีชงชาสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
และเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลก
ขั้นตอนพิธีชงชาของญี่ปุ่น
การชงชาเริ่มจากเจ้าภาพตักชาเขียวป่น
(Matcha) ลงในถ้วยชา (Cawan) จากนั้นตักน้ำร้อนจากหม้อต้มใส่ลงไป
แล้วใช้ไม้สำหรับคนชา (Chasen) คนจนชาเป็นฟอง แล้วยกถ้วยชาส่งให้บรรดาแขก
เมื่อแขกคนแรกรับถ้วยชามาก็หันไปกล่าวขอโทษแขกคนถัดไปที่ตนเป็นผู้ดื่มชาก่อน
แล้วหันไปคำนับเจ้าภาพเป็นการขอบคุณ จากนั้นจึงยกชาขึ้นดื่ม
ขนมที่ใช้ทานคู่กันในการดื่มชา
เป็นขนมหวาน เรียกว่า วากาชิ (Wagashi) ได้แก่
ขนมโยกัน (Yokun)
เป็นเจลลี่ถั่วแดงหวาน
ขนมมันจู (Manju)
คือซาลาเปาบ้านเรานั่นเอง
ขนมซากุระโมชิ
(Sakuramoshi) เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว ไส้ถั่วแดงห่อด้วยใบซากุระหมักเกลือ
แสดงถึงฤดูใบไม้ผลิ
ขนมทสึกิมิดังโกะ
(Tsukimidan-go) เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว ใช้ในพิธีชมจันทร์
ขอแนะนำชาญี่ปุ่นที่ดื่มในโอกาสต่างๆ
ชา Shincha
จะมีในเดือนพฤษภาคม
เป็นชาแรกที่เก็บได้ของฤดู
ชา Mugicha หรือชาข้าวบาร์เลย์ นิยมดื่มในฤดูร้อน
ชา Sakurayu
ดื่มในโอกาสงานมงคล
เป็นชาที่ได้จากการชงน้ำร้อนกับกลีบกุหลาบแทนชาเขียว แล้วปรุงรสด้วยเกลือ
photo :sites.google.com/site/chonthicha47035/wathnthrrm-kar-dum-cha-khxng-yipun
โมรอคโค
การชงชาในโมรอคโคก็มีพิธีมากเช่นกัน
ชามิ้นต์ (Mint Tea) เป็นชายอดนิยมจะมีอยู่ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน และมีขายตามร้านทั่วไป
ขั้นตอนการชงชามิ้นต์
เริ่มด้วยการใส่ชาเขียวเพียง 2 – 3 ช้อนชาลงในกา เทน้ำใส่แล้วรีบเทออกเพื่อล้างฝุ่น
เทน้ำเดือดเพิ่มอีก แล้วปล่อยทิ้งไว้ 1 นาที ใส่ใบมิ้นต์ลงในกาแล้วปล่อยไว้อีก 1 นาที เติมน้ำตาล
ในการเสิร์ฟชา
ชาวโมรอคโคจะรินชาลงแก้วโดยการยกกาให้สูงๆ เพื่อทำให้เกิดฟองบนพื้นผิวน้ำชา
รัสเซียและมองโกเลีย
คนรัสเซียชอบดื่มชาเขียวและชาดำโดยไม่ใส่นม
บางคนอาจจะใส่น้ำตาลลงในปากก่อนที่จะดื่มชาเข้าไป หรือบางทีอาจจะใส่แยม, น้ำผึ้ง
หรือพริกเข้าไปก่อน ตามแต่จะชอบ
ส่วนชาวมองโกเลีย
พวกเขาอาจดื่มชาพร้อมกับนมและเกลือ ประมาณปี ค.ศ. 1638 ชาวมองโกเลียได้ขยายตัวเข้าไปอยู่ในรัสเซียดังนั้นประเพณีนิยมการดื่มชาจงข้าไปแพร่หลายในรัสเซียด้วย
แต่เมื่อรัสเซียสามารถปลูกชาได้เองในปี ค.ศ. 1900 ก็หยุดการนำเข้าชาจากจีน
อียิปต์
กฎหมายอิสลามได้อนุญาตให้มีการดื่มชาดำได้
ในอียิปต์ ปากีสถาน และซาอุดิอาราเบียนั้น
ชาดำจากอินเดียชาซีลอนของศรีลังกาได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง ชาจะถูกชงแก่ๆ
รสจัดและหวานมาก แต่ไม่ใส่นม
ทิเบต
ในทิเบตชาจะถูกเติมเกลือ
และปรุงรสให้เค็ม เพื่อเพิ่มความอบอุ่นแก่ร่างกาย ชาเขียวที่ชงได้จะถูกกรอง และนำไปผสมกับเกลือ
นมแพะหรือเนยวัว ดื่มพร้อมกับขนมพื้นเมือง ซึ่งทำจากข้าวโพด และข้าวบาร์เลย์
รู้จักกันในชื่อ tsamba
อินเดีย
การดื่มชาของอินเดีย
มีความนิยมแบบเผ็ดๆ ซ่าๆ โดยผสมชาดำกับนม ใส่เครื่องเทศจำพวกกานพลู, กระวาน
และอบเชย เติมน้ำตาล มีขายอยู่ทั่วไปตามท้องถนนในอินเดีย รินใส่ในถ้วยดินเผาแบบดิบๆ
ให้ความรูสึกดีไปอีกแบบ
มาลเซีย
วัฒนธรรมการดื่มของมาเลเซียจะคล้ายกับจีน
แม้ปัจจุบันจะมีอิทธิพลของตะวันตกเข้ามา โดยนิยมเติมนม น้ำตาล หรือมะนาวลงไป
ลักษณะของมาเลเซียที่เด่นคือ
กาน้ำชาของเขาจะมีฝาเปิดที่เล็กมาก เมื่อเวลารินชาลงไปในถ้วย
เขาจะยกกาน้ำชาขึ้นสูงๆ พวกเขาเรียกการทำเช่นนี้ว่า การขึงชา (Stretching
the tea) ซึ่งจะทำให้น้ำชาเกิดเป็นฟองเล็กๆ ในถ้วย
เชื่อกันว่าเป็นการทำให้เกิดออกซิเจนเพิ่มขึ้นในน้ำชาและช่วยให้รสชาติของน้ำชาดีขึ้นนุ่มขึ้น
photo : hiclasssociety.com
ที่มา : หนังสือ “รินใจใส่ชา” คู่มือคนรักชา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น