วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

สูตรชาสมุนไพรผสมน้ำเชื่อมสำเร็จรูป


สูตรชาสมุนไพรผสมน้ำเชื่อมสำเร็จรูป

                เริ่มต้นด้วยการต้มน้ำ เมื่อร้อนได้ที่แล้วรินไส่ถ้วย ใส่ถุงชาลงไปแช่ไว้ 4 นาที จากนั้นยกถุงชาออก แล้วก็เติมสารให้ความหวานต่างๆ และกลิ่นปรุงแต่งตามชอบ

                ข้อแนะนำ

                อัตราส่วนแนะนำนี้ คือการผสมในถ้วยขนาด 8 ออนซ์

ถ้ากลิ่นปรุงแต่งชาสมุนไพรของคุณคือ

แอปเปิ้ล

                สูตรผสมกับน้ำเชื่อมสำร์จรูปคือ
                น้ำเชื่อมกลิ่นแอปเปิ้ล ½ ช้อนโต๊ะ
                น้ำเชื่อมกลิ่นอบเชย ¾ ช้อนโต๊ะ

ถ้ากลิ่นปรุงแต่งชาสมุนไพรของคุณคือ

แบล็กเบอร์รี่

                สูตรผสมกับน้ำเชื่อมสำเร็จรูปคือ
                น้ำเชื่อมกลิ่นแบล็กเบอร์รี่ 1 ช้อนโต๊ะ

ถ้ากลิ่นปรุงแต่งชาสมุนไพรของคุณคือ

แบล็กเบอร์รี/สไปซ์

                สูตรผสมกับน้ำเชื่อมสำเร็จูปคือ
                น้ำเชื่อมกลิ่นแบล็กเบอร์รี่ ½ ช้อนโต๊ะ
                น้ำเช่อมกลิ่นอบเชย ½ ช้อนโต๊ะ


ถ้ากลิ่นปรุงต่งชาสมุนไพรของคุณคือ

ชินนามอน

                สูตรผสมกับน้ำเชื่อมสำเร็จรูปคือ
                น้ำเชื่อมกลิ่นอบเชย 1 ช้อนโต๊ะ

ถ้ากลิ่นปรุงแต่งชาสมุนไพรของคุณคือ

ฟรุ้ต นัท

                สูตผสมกับน้ำเชื่อมสำเร็จรูปคือ
                น้ำเชื่อมกลิ่นอัลมอนด์ 1 ช้อนโต๊ะ

ถ้ากลิ่นปรุงแต่งชาสมุนไพรของคุณคือ

พีช นัท

                สตรผสมกับน้ำเชื่อมสำเรจรูปคือ
                น้ำเชื่อมกลิ่นอัลมอนด์ 1 ช้อนโต๊ะ

ถ้ากลิ่นปรุงแต่งชาสมุนไพรของคุณคือ

เปปเปอร์มิ้นต์

                สูตรผสมกับน้ำเชื่อมสำเร็จรูปคือ
                น้ำเชื่อมกลิ่นเปปเปอร์มิ้นต์ 1 ช้อนโต๊ะ

หมายเหตุ


                จากสูตรผสมเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าคุณสามารถนำไปสร้างและปรับปรุงสูตรต่างๆนานาด้วยตัวเอง ตามต้องการได้ โดยไม่ยากเลยขอเพียงตั้งใจ เอาใจใส่ ทำความเข้าใจ รักและมีความสุขกับสิ่งที่ทำ สิ่งดีๆ มักอยู่รอบๆ คนที่คิดดีทำดีเสมอ

ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
ข้อมูล : คู่มือคนรักชา "รินใจใส่ชา"


วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560

สูตรการชงชา เพื่อบำบัดรักษาโรค


 ร้านโอท็อปเชียงราย

ชาสำหรับการลดน้ำหนัก

                Oolong Tea หรือชามังกรดำ
                ชามังกรดำเป็นชาที่เยี่ยมกว่าชาอื่นๆ ในการนี้ เพราะว่าช่วยลดไขมันในบริเวณส่วนต่างๆของร่างกายได้ดี คุณสามารถดื่มได้ 2 – 3 ครั้งต่อวัน ซึ่งจะช่วยลดน้ำหนักลงทีละน้อย
                ชามังกรดำ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำ 850 มิลลิลิตร
                ต้มน้ำร้อน ทำความสะอาดกาด้วยน้ำร้อน จากนั้นใส่ใบชาลงในกา เมื่อน้ำร้อนเต็มที่ ค่อยๆ รินลงบนใบชา ปล่อยไว้ 2 – 3 นาที จากนั้นรินใส่ถ้วยรอจนความร้อนลดลงพอที่จะดื่มได้โดยไม่ลวกปาก แล้วยกดื่มให้ชื่นใจ

ชาสำหรับลดความดันโลหิตสูง

                Banana Tea หรือ ชากล้วย
                พออายุมากขึ้นโรคความดันโลหิตมักจะถามหา บางครั้งอาจเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีเกลือหรือไขมันสัตว์มากเกิน หรือดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
                จะช่วยได้ดีมากถ้าดื่มชานี้ทุกวัน
                แต่ว่าเนื่องจากกล้วยนั้นมีรสและกลิ่นเฉพาะ จึงอาจทำให้กามีกลิ่นได้ ควรชงในถ้วย หรือถ้วยน้ำชาจีนแบบที่มีฝาปิด
                ส่วนผสมที่ใช้คือ
                กล้วยสุก ใบเล็กๆ 1 ใบ
                ใช้ชาเขียว จะให้รสชาติดี
                น้ำ 430 มิลลิลิตร
                หากกล้วยที่คุณมีใบใหญ่ ให้หั่นเป็นท่อน ใช้ประมาณ 3 เซนติเมตร ใส่ลงไปในถ้วยสำหรับใช้ชงชา ใส่ชาเขียว แล้วค่อยๆ รินน้ำร้อนลงไปบนชาและกล้วย ปิดฝาถ้วยตั้งทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 นาที ก่อนดื่ม

                Lotus nut Tea หรือ ชาเมล็ดดอกบัว
                อัตราส่วนที่ใช้คือ
                เมล็ดดอกบัว 12 – 15 เมล็ด
                ชาเขียว
                น้ำ 850 มิลลิลิตร
                วิธีแรก อุ่นกาด้วยน้ำร้อนแล้วใส่เมล็ดดอกบัวกับชาเขียวลงไปในกา ชาเขียวจะเป็นตัวเพิ่มรสชาติ จากนั้นรินน้ำร้อนลงบนใบชาและเมล็ดดอกบัว ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีก่อนดื่ม
                วิธีสอง นำเมล็ดบัวที่เตรียมไว้ใส่ลงในกระทะท้องแบนพร้อมกับน้ำเย็น 850 มิลลิลิตร นำไปต้มและปล่อยให้เดือด 1 – 2 นาที แล้วดื่มให้ชื่นใจ

ชาสำหรับบำรุงกำลัง

                Peanut  and ginger Tea หรือ ชาถั่วและชาขิง
                เมื่อคุณรู้สึกล้า และอ่อนแรง ขขอแนะนำ ดังนี้
                ถั่วลิสงดิบ 20 เม็ด
                ขิงหั่นแผ่นบางๆ 5 – 6 แผ่น
                น้ำ 850 มิลลิลิตร
                ควรใช้ถั่วดิบ ซึ่งยังคงมีผิวหุ้มอยู่ และควรเลือกใช้ขิงแก่ที่สดอวบอิ่ม
                วิธีทำ คือ ล้างขิงแล้วฝานเป็นแผ่นบางๆตามขวาง เอาถั่วดิบมาตำหรือบดให้ละเอียด นำถั่วที่บดแล้วใส่ในกา จากนั้นใส่ใบชาลงไป รินน้ำร้อนใส่กา ปิดฝาปล่อยทิ้งไว้ 2 – 3 นาที แล้วดื่มให้ชื่นใจ
ชาสำหรับแก้ร้อนใน

                Yellow Chrysanthemum Tea หรือ ชาดอกเก๊กฮวยสีเหลือง
                ชาดอกเก๊กฮวยจะช่วยลดความร้อนในตัวคุณได้
                ดอกเก๊กฮวยสีเหลือง 10 – 20 ดอก
                น้ำ 850 มิลลิลิตร
                วิธีทำแสนง่ายๆ คือต้มน้ำให้เดือด แล้วรินน้ำร้อนลงบนดอกเก๊กฮวยในกา ปล่อยพักไว้ 2 – 3 นาที ก่อนนำมาดื่ม ถ้าชอบรสหวานให้เติมน้ำตาลนิดหน่อย

                Dry – fried rice tea หรือ ชาข้าวคั่วแห้ง
                เป็นชาที่สร้างความสมดุลของพลังงานความร้อน “หยาง” – Yang “ และความเย็น “หยิน – Yin” ในร่างกาย ซึ่งชานี้สำหรับผู้ที่มีหยินมากเกินไป และต้องการหยางเพิ่มขึ้น
                ในประเทศญี่ปุ่นชานี้เป็นที่นิยม ดังนั้น คุณสามารถซื้อแบบผสมสำเร็จรูปได้เลย
                แนะนำอัตราส่วน ดังนี้
                ข้าวบด 1 ถ้วย
                ใบชาเขียว 1 ถ้วย
                น้ำ 850 มิลลิลิตร
                วิธีทำ คือ คั่วข้าวจนกระทั่งมีสีเหลืองทอง และมีกลิ่นหอม ปล่อยให้ข้าวเย็น เติมชาเขียวลงไป ผสมให้เข้ากัน จากนั้นตักส่วนที่ผสมได้ 5 ช้อนโต๊ะใส่ในกาน้ำชา แล้วเติมน้ำร้อนลงไป ปล่อยทิ้งไว้ 2 – 3 นาทีก่อนดื่ม และสามารถเติมน้ำลงไปในกาได้อีก 1 – 2 ครั้ง

                Eight treasure Tea
                เป็นชาที่ให้พลังงาน สามารถดื่มได้ 2 ครั้งต่อหนึ่งอาทิตย์ ซึ่งส่วนผสม 8 อย่างนั้นเป็นการรักษาสูตรดั้งเดิมตามตำรา หาซื้อส่วนผสมเหล่านี้ได้ตามร้านขายยาสมุนไพร
                อัตราส่วนต่างๆ มีดังนี้
                ชาเขียว
                ดอกเก๊กฮวยสีขาว 2 ดอก
                ส้มปอกเปลือกตากแห้ง 1 ชิ้นเล็ก
                ลำไย 1 ลูก (สดหรือแห้งก็ได้)
                อินทผาลัมสีแดง 1 ลูก
                รากชินเสน 1 ชิ้นบางๆ
                เบอร์รี่ตากแห้ง 1 ลูก
                แอปเปิ้ลตากแห้งหั่นบางๆ 1 ชิ้น
                น้ำตาลนิดหน่อย
                น้ำ 430 มิลลิลิตร
                นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงในกา แล้วรินน้ำร้อนใส่ลงไป ทิ้งไว้ 3 นาที ก่อนดื่ม และคุณสามารถเติมน้ำลงไปในกาได้ประมาณ 1 – 2 ครั้ง

ชาสำหรับแก้โรคท้องร่วง หรือลำไส้อักเสบ

                Mung bean Tea
                Mung bean เป็นถั่วเม็ดเล็กๆ ผิวสีเขียว เนื้อสีเหลือง จะตำหรือบดด้วยเครื่องก็ได้
                อัตราส่วนผสม มีดังนี้
                ใบชา
                ถั่วที่บดแล้ว 1 ช้อนชา
                น้ำ 850 มิลลิลิตร
                น้ำตาลทรายขาว
                ใส่ชาลงในกาชา พร้อมด้วยถั่วที่ถูกบดแล้ว 1 ช้อนชา รินน้ำที่ต้มแล้วใส่ลงไปบนชาในกา เติมน้ำตาลตามชอบ ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 นาที แล้วดื่มให้ชื่นใจ

ชาสำหรับแก้ไอ

                White radish tea หรือ ชาหัวผักกาดขาว
                หัวผักกาดขาวสด
                ใบชา
                เกลือเล็กน้อย
                น้ำ 850 มิลลิลิตร
                ปอกเปลือกหัวผักกาดขาว หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใช้ประมาณ 2 – 3 ซ.ม. เพราะกลิ่นแรงมาก นำไปใส่ในกาชาพร้อมด้วยใบชา เติมเกลือเล็กน้อย จากนั้นรินน้ำร้อนใส่ ปิดฝาไว้ประมาณ 2 – 3 นาที แล้วดื่มให้ชื่นใจ

ชาสำหรับแก้อาการระคายคอ แต่ไม่ไอ

                Liquorice tea หรือ ชาชะเอมเทศ
                ชะเอมเทศของจีนมีสรรพคุณบรรเทาอาการเจ็บคอ และดีต่อระบบทางเดินหายใจ
                อัตราส่วนที่ใช้ชง มีดังนี้
                รากชะเอมเทศตากแห้ง 6 – 7 ชิ้น
                ใบชา
                น้ำ 850 มิลลิลิตร
                หั่นรากชะเอมเทศแห้งใส่ในกาชาพร้อมกับใบชาที่เตรียมไว้ รินน้ำร้อนใส่ในกา ปิดฝากา ปล่อยพักไว้ 5 นาที แล้วดื่มให้ชื่นใจ

ชาสำหรับแก้การติดเชื้อในลำคอ หรือคออักเสบ

                Sweet tea หรือ ชาหวาน
                สูตรนี้จะใช้กลั้วคอ หรือบ้วนปากก็ได้ นอกจากชงสำหรับดื่มแล้ว
                อัตราส่วนที่ใช้ชง มีดังนี้
                ชาเขียว หรือชามังกร
                น้ำตาล
                น้ำ 850 มิลลิลิตร
                วิธีก็คือ ชงชาให้แก่ ตักชาใส่กาประมาณ 4 – 5 ช้อนโต๊ะ แล้วรินน้ำร้อนใส่ในกา เติมน้ำตาล พักไว้ประมาณ 2 – 3 นาที แล้วดื่มให้ชื่นใจ

ที่มา : หนังสือคู่มือคนรักชา "รินใจใส่ชา"

photo : teagalaxy.com




วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คุณลักษณะเด่นของชาชนิดต่างๆ



                ในตลาดชาปัจจุบันนี้มีชามากมายหลากหลายชนิดให้เราได้สรรหามาลองลิ้มชิมรส หรือเผื่อแผ่เป็นของฝากของขวัญให้เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง หรือให้คนที่รักได้ชื่นใจสุขใจกัน จึงใคร่ขอแนะนำรสชาติดียอดนิยมที่ควรรู้จักและรู้จิบเป็นอย่างยิ่ง

                Formosa Oolong
                มีใบชาที่ใหญ่สีเขียวปนน้ำตาล ชนิดที่ดีที่สุดจะมียอดใบสีเงิน ให้น้ำชาเป็นสีเหลืองอ่อนๆ เหมาะในการดื่มไม่ใส่นมในตอนบ่ายหรือเย็น หรือดื่มกับอาหารของชาวตะวันออก

                Darjeeling
                มีกลิ่นหอมที่ชวนให้นึกถึงองุ่นหวาน สามารถดื่มได้ในทุกเวลาของวัน กับนมหรือมะนาวก็ได้รสชาติที่ดี

                Assam
                ใบชาดำ ให้น้ำออกสีแดง รสชาติเข้มแรง เหมาะสำหรับดื่มในตอนเช้าตรู่ และมื้อเช้า ควรดื่มกับนม

                Keemum
                เป็นชาจีนจากมณฑล Anwhei ดื่มแบบไม่ต้องเติมอะไร หรือแบบใส่นมตอนบ่ายหรือเย็น

                China Caravan
                ชาสูตรผสมของชา Keemum รสชาตินุ่มนวลเหมาะกับการดื่มตอนสายๆ ของวันกับมะนาว

                Earl Grey
                เป็นชาผสมปรุงรสระหว่าง Darjeeling และ China Caravan ควรดื่มโดยไม่ใส่นม และมะนาว เหมาะที่จะเป็นชายามบ่าย

                Ceylon
                มีกลิ่นหอมละมุน เหมาะสำหรับดื่มกับนมหรือมะนาวได้ทุกๆ เวลา เนื่องจากน้ำชาจะไม่ขุ่นเมื่อใส่น้ำแข็ง จึงนิยมดื่มแบบชาเย็น

                Russian
                เป็นชาจาก Georgia ในรัสเซีย บางครั้งเรียก “ชาจอร์เจีย” ดังนั้นควรดื่มแบบรสนิยมของชาวรัสเซีย คือเข้มข้น และเติมมะนาว

                Rose Pouchong
                เป็นชาที่มาจาก Guagdon ฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ผสมรสกับกลิ่นของกลีบกุหลาบ เหมาะสำหรับดื่มยามบ่าย โดยไม่ใส่นมและมะนาว

                Jasmine
                เป็นชาผสมระหว่างชาดำกับชาเขียว แล้วปรุงด้วยกลิ่นดอกมะลิ ดื่มโดยไม่ใส่นมและมะนาว เหมาะที่จะดื่มกับอาหารจีน

                Formose Pouchong
                เป็นชาให้สีอ่อน อบด้วยดอกพุด (Gardenia), มะลิ (Jasmine) หรือดอกจูหลัน (Yulan)

                Gun Power
                เป็นชายอดนิยมของทางตะวันตก ให้น้ำชาสีฟ้า เหมาะมากกับอาหารจีน

                Spice
                ชาสไปซ์ปรุงรสและกลิ่นด้วยเครื่องเทศต่างๆ เช่น เปลือกไม้หอม และเปลือกส้ม

                Japanese Roasted Rice
                ชาข้าวคั่วญี่ปุ่น เป็นชาผสมของชาเขียวญี่ปุ่นกับข้าวคั่วญี่ปุ่น

                Orange Blossom
                ชาปรุ่งแต่งรสด้วยดอกส้ม

                Tropical Fruit

                ชาทรอปปิคอล ฟรุต ให้กลิ่นหอมและรสของผลไม้ต่างๆ

ที่มา : หนังสือ รินใจใส่ชา คู่มือคนรักชา

photo : pngtree.com




วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ประเภทชาแบ่งตามกระบวนการผลิต

Art Of Tea Lovers
ศิลปะของคนรักชา
photo : medthai.com


                ใบชาที่เก็บจากพุ่มเดียวกัน ขึ้นอยู่กับคนเก็บว่าจะมีวิธีการอย่างไรที่ทำให้มันมีความแตกต่างกัน
จากขบวนการผลิตขั้นสุดท้ายสามารถแบ่งชาได้เป็น 6 ชนิดด้วยกัน
1.       ชาขาว (White tea)
2.       ชาเขียว (Green tea)
3.       ชาอูหลง (Oolong tea)
4.       ชาดำ (Black tea)
5.       ชาผสม (Scented tea)
6.       ชาก้อน (Compressed tea)

บางตำราของจีน แบ่งประเภทของชาได้เป็น 6 ชนิดเช่นกัน คือชาขาว, ชาเหลือง, ชาขียวอ่อน, ชาเขียว, ชาแดง และชาดำ ส่วนในซีกตะวันตกนั้นเนื่องจากชาเขียวและชาเขียวอ่อนแทบจะไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นทั้งสองชาจึงถูกจัดอยู่ในประเภทเดียวกัน คือชาเขียว

White Tea :  ชาขาว
                เป็นชาที่เก็บจากยอดใบ โดยจะมีการเก็บเป็นพิเศษในช่วง 2 – 3 วันแรกของการเริ่มต้นฤดูเก็บชา ใบชาจะไม่มีการหมัก แต่จะทำแบบธรรมชาติ โดยการใช้ไอน้ำแทน ใบชาจะซีดกว่าชาชนิดอื่นๆ และในการชงจะได้สีที่จางกว่า และให้สารคาเฟอีนต่ำกว่าด้วย ชาขาวถือว่าดีและมีชื่อเสียง ได้แก่ Shou Mei Pai Heo Yin Chin และ Pai Mu Tan
                ความหอมของชาขาวนั้นกลิ่นจะอ่อนกว่าชาชนิดอื่น และเมื่อแรกที่คุณได้สัมผัสรสธรรมชาติอาจจะเหมือนกับการดื่มน้ำร้อนเปล่าๆ ซึ่งรสชาติธรรมดามาก แต่ว่าเพียงชั่วอึดใจหนึ่งคุณก็จะได้สัมผัสกับรสชาติที่นุ่ม หอมหวานในขณะที่คุณกลืนลงไปในลำคอ และกลิ่นอ่อนๆ ของชาขาวก็ยังคงรวยรินอยู่ที่ลิ้น ลำคอ และในปากของคุณ ข้อแนะนำการดื่มชาขาวนั้นไม่ควรใส่นม


www.preyashop.com

Yellow Tea : ชาเหลือง
                ถูกทำให้เป็นสีเหลืองตามกระบวนการทำชา คือการกวน (Stir – Prying) หรือตามขั้นตอน Killing Green เนื่องจากว่าโทนสีของน้ำชามีผลต่อความรู้สึกอยากดื่มด้วย ชาเหล่านี้ได้แก่ Mao Chien, Huang Ta Cha, Chun Shan Yin Chin จัดอยู่ในประเภทชาเหลือง และชา Chun Shan Yin Chin ถือเป็นชาเหลืองที่ดีที่สุดและมีค่ามากที่สุดในบรรดาชาเหลืองทั้งหมด ว่ากันว่าในสมัยราชวงศ์ถังนั้นนิยมดื่มกันมาก
                ลักษณะของกลิ่นชาเหลืองก็คือ กลิ่นและรสชาติของชาจะไม่เปลี่ยนไปจากที่คุณดื่มตอนชงเสร็จใหม่ๆ แม้ว่าจะถูกวางทิ้งไว้ให้เย็นก็ตาม รสชาติอันขมๆ หวานๆ และกลิ่นเปรี้ยวยังคงตราตรึงที่ลิ้นของคุณ กลิ่นออกเปรี้ยวๆนี้ไม่ใช่กลิ่นเปรี้ยวของส้ม หรือผลไม้รสส้มอื่นๆ แต่เป็นกลิ่นเปรี้ยวของสมุนไพร

Light Green Tea :  ชาเขียวอ่อน
                กลิ่นของชาเขียวอ่อนนั้นจะเหมือนกลิ่นของเมล็ดข้าวสาลี ชาเขียวอ่อนที่มีชื่อเสียงมาก คือ ชาทิกวนอิม (Tich Kuan – Yin) และชาต้าหงเผา (Ta Hung Pao)

Green Tea :  ชาเขียว
                วิธีทำชาเขียวง่ายๆ ด้วยตัวของคุณเอง ขั้นตอนแรกเก็บใบชาเล็กๆ ที่อ่อนที่สุด ใส่ลงไปในตะกร้าสานพื้นเรียบใบใหญ่ๆ ตั้งพักไว้ให้แห้งประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง ต่อจากนั้นคุณก็เลือกใบที่เสียออกทิ้ง แล้วนำใบชาที่ได้ใส่ลงในกระทะใบใหญ่ ใช้ไฟอ่อนๆ คั่วกลับไปกลับมาให้ใบชาแห้งสม่ำเสมอกัน หรือคุณจะใช้เตาอบเพื่ออบใบชาให้แห้งก็ได้เช่นกัน
                หลังจากที่ทำการอบหรือปรุงใบชาในกระทะแล้ว คุณก็ทำให้เป็นก้อนกลมขนาดใหญ่ โดยเอาใบออกนวดและตีหลายๆ ครั้ง เมื่อใบชาเริ่มอ่อนนุ่มและมีกลิ่นหอม แสดงว่าใกล้จะได้ที่แล้ว นำใบชาไปให้ความร้อนอีกครั้งหรือเอาเข้าเตาอบ จากนั้นก็เก็บบรรจุในภาชนะที่มิดชิดแห้งสะอาด ก็เป็นอันเรียบร้อย
                ชาเขียวเป็นชาที่มีสีค่อนข้างเขียว และมีสีเหลืองเล็กน้อย ซึ่งอัตราส่วนของสีเหลืองนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของชาเขียวที่คุณกำลังดื่ม กล่าวกันว่ากลิ่นของชาเขียวนั้นเหมือนกับกลิ่นหมอกในตอนเช้า หรือกลิ่นหญ้าชื้นๆ เมื่อฝนหยุดตกใหม่ๆ กลิ่นของชาเขียวจะติดอยู่ในปากและลำคอนาน
                ชาเขียวที่มีชื่อ คือ ชาหลงจิ่ง (Lung Ching), ชาโปลี (Polee) ซึ่งเป็นชาที่นิยมดื่มกันของชาวแคนตัน มีชื่อเสียงมาตั้งแต่ราชวงศ์ถัง มีประโยชน์ในการขับเสมหะ และช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย
                ชาเขียวนั้นชงดื่มโดยไม่ต้องใส่นม และชาเขียวนั้นเราแยกชนิดย่อยตามอายุของใบชา และการผลิตได้ดังนี้
1.       ชาดินปืน หรือชาลูกกระสุน (Gun – power Tea) เป็นชาที่ถูกปั้นคล้ายลูกปืนเล็กๆ จากชาอ่อนและชาปานกลาง
2.       ชาจักรพรรดิ (Imperial Tea) เป็นชารุ่นเก่าของชาดินปืน มีใบชาใหญ่กว่า และมีความหนาแน่นน้อยกว่า
3.       ชาไฮซัน (Hyson Tea) หมายถึงฤดูใบไม้ผลิ หรือผลิตผลแรกของใบชา


www.preyashop.com

Red Tea :  ชาแดง
                ชาแดงนั้นน้ำชาจะมีโทนสีน้ำตาลแก่ หรือสีแดงเข้ม มีกลิ่นรุ่นแรงและมีรสหวาน ความเข้มข้นของกลิ่นจะเป็นลักษณะเด่นของชาแดง คือกลิ่นของชาจะไม่จางหายไปเมื่อคุณเติมส่วนผสมอื่นๆลงไปในน้ำชา ด้วยคุณสมบัตินี้จึงทำให้หลายคนนิยมใส่ส่วนผสมพิเศษลงไป เช่น พวกดอกไม้ กลีบกุหลาบ, ดอกลิ้นจี่, นม หรือน้ำตาล ชาวตะวันตกชอบดื่มชาแดง
                ชาแดง Ch’I Men มีชื่อเสียงมาตั้งแต่ราชวงศ์ชิงแล้ว

Black Tea :  ชาดำ
                การทำชาดำมีความยุ่งยากและใช้เวลานานกว่าชาเขียว ใบชาที่ใช้ก็ต้องตากไว้จนกระทั่งมันเริ่มดำขึ้น จากนั้นคุณก็ตีมันหลายๆครั้งแล้วบด ก็จะทำให้มันแห้ง ตากไว้ให้ถูกแสงเพื่อให้ได้ออกซิเจนเต็มที่ และทำซ้ำหลายๆ ครั้งอาจะต้องใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นใบชาที่เก็บมาจากพุ่มเดียวกัน จะเป็นชาเขียวหรือชาดำก็ขึ้นอยู่กับวิธีการแล้วล่ะ
                ชาดำนั้นกลิ่นของมันออกรสขมๆ ของกลิ่นสมุนไพร ซึ่งมีกลิ่นเหมือนกลิ่นโลหะที่โดนความร้อน
                ตอนแรกที่คุณดื่มชาดำเข้าไป คุณจะรู้สึกว่ามันขมเหมือนกับคุณดื่มยาเข้าไป แต่ต่อมาเมื่อคุณดื่มมันอีกครั้ง รสชาติที่ได้ก็จะเปลี่ยนเป็นหวานๆ ขมๆ ตลอด ดังนั้นลักษณะเด่นของชาดำคือการเปลี่ยนแปลงรสชาติในปากบ่อยครั้ง และมีรสขมๆ หวานๆ ที่ติดทนนาน
                สี่ขั้นตอนการผลิตชาดำ
1.       ขั้นตอนทำให้แห้งหมาด ใบชาที่เก็บมาจะถูกตากให้แห้งพอหมาด เพื่อขจัดเอาความชื้นออก ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 1 วัน หากทำในที่โล่ง แต่หากอบในเตาอบไฟฟ้าใช้เวลาไม่เกิน 2 – 3 ชั่วโมง
2.       ขั้นตอนนวดคลึง ในสมัยก่อน ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาและแรงมากที่สุด เพราะใช้มือในการทำ แต่ปัจจุบันใช้เครื่องจักรกินเวลา 1 – 2 ชั่วโมง
3.       ขั้นตอนการหมักพื่อให้เกิดปฎิกิริยาออกซิเดชั่น เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ใบชาที่ถูกนวดคลึงจนเหนียวนั้น จะถูกนำไปไว้ในที่เย็นและชื้นประมาณ 1 – 3 ชั่วโมง เพื่อให้ชาทำปฎิกิริยาจนมีสีน้ำตาลแดง และเกิดรสชาติ
4.       ขั้นตอนอบแห้ง เมื่อขั้นตอนการหมักจบลง ใบชาที่ได้จะนำไปอบในห้องควบคุมอุณหภูมิ จนมีสีดำ และตอนนี้ชีความชื้นเหลือเพียง 5%

Compressed Tea : ชาก้อน
                ชาชนิดนี้จะมีขายในรูปแบบแท่งหรือแบบก้อนอิฐ ใบชานั้นจะอบไอน้ำแล้วนำไปบีบอัดให้เข้ากันเป็นก้อนแข็ง จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง ปัจจุบันชาก้อนทำมาจาก Dust teas ซึ่งถูกอัดด้วยเครื่องจักรที่ใช้น้ำในการขับเคลื่อนภายใต้แรงดัน หรือที่เรียกกันว่า Hydraulical Machinery เพื่อที่จะให้รูปแบบของชานั้นออกมาให้เท่ากับ 1 ช้อนโต๊ะต่อหนึ่งถ้วยชา การชงชาชนิดนี้ชงแบบปกติ โดยใส่ก้อนชาลงไปในถ้วยเติมน้ำร้อน ใบชาจะค่อยๆ คลายตัวออกมา

Oolong Tea : ชาอูหลง
                ชาวจีนเรียกว่า “มังกรดำ” (Black dragon) ชาอูหลงเป็นชากึ่งหมักและใบชาต้องผ่านกระบวนการทำชาทันทีหลังจากการเก็บใบชา ให้สารคาเฟอีนต่ำ ชาจะมีความนุ่มกว่าชาดำ แต่มีรสชาติที่สดน้อยกว่าชาเขียว ชานี้แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด คือ Chaina Oolong และ Formose Oolong ซึ่งจะมีรสชาติที่ต่างกันขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการหมัก

Scented Tea : ชาผสม

                ชาอูหลง, ชาเขียว ชาดำจะถูกผสมเข้ากับดอกไม้ชนิดต่างๆ ซึ่งมีกลิ่นหอมต่างๆ กัน ผสมขึ้นมาเป็นชาผสม


www.preyashop.com


ที่มา : หนังสือ “รินใจใส่ชา” คู่มือคนรักชา