วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560

สูตรการชงชา เพื่อบำบัดรักษาโรค


 ร้านโอท็อปเชียงราย

ชาสำหรับการลดน้ำหนัก

                Oolong Tea หรือชามังกรดำ
                ชามังกรดำเป็นชาที่เยี่ยมกว่าชาอื่นๆ ในการนี้ เพราะว่าช่วยลดไขมันในบริเวณส่วนต่างๆของร่างกายได้ดี คุณสามารถดื่มได้ 2 – 3 ครั้งต่อวัน ซึ่งจะช่วยลดน้ำหนักลงทีละน้อย
                ชามังกรดำ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำ 850 มิลลิลิตร
                ต้มน้ำร้อน ทำความสะอาดกาด้วยน้ำร้อน จากนั้นใส่ใบชาลงในกา เมื่อน้ำร้อนเต็มที่ ค่อยๆ รินลงบนใบชา ปล่อยไว้ 2 – 3 นาที จากนั้นรินใส่ถ้วยรอจนความร้อนลดลงพอที่จะดื่มได้โดยไม่ลวกปาก แล้วยกดื่มให้ชื่นใจ

ชาสำหรับลดความดันโลหิตสูง

                Banana Tea หรือ ชากล้วย
                พออายุมากขึ้นโรคความดันโลหิตมักจะถามหา บางครั้งอาจเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีเกลือหรือไขมันสัตว์มากเกิน หรือดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
                จะช่วยได้ดีมากถ้าดื่มชานี้ทุกวัน
                แต่ว่าเนื่องจากกล้วยนั้นมีรสและกลิ่นเฉพาะ จึงอาจทำให้กามีกลิ่นได้ ควรชงในถ้วย หรือถ้วยน้ำชาจีนแบบที่มีฝาปิด
                ส่วนผสมที่ใช้คือ
                กล้วยสุก ใบเล็กๆ 1 ใบ
                ใช้ชาเขียว จะให้รสชาติดี
                น้ำ 430 มิลลิลิตร
                หากกล้วยที่คุณมีใบใหญ่ ให้หั่นเป็นท่อน ใช้ประมาณ 3 เซนติเมตร ใส่ลงไปในถ้วยสำหรับใช้ชงชา ใส่ชาเขียว แล้วค่อยๆ รินน้ำร้อนลงไปบนชาและกล้วย ปิดฝาถ้วยตั้งทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 นาที ก่อนดื่ม

                Lotus nut Tea หรือ ชาเมล็ดดอกบัว
                อัตราส่วนที่ใช้คือ
                เมล็ดดอกบัว 12 – 15 เมล็ด
                ชาเขียว
                น้ำ 850 มิลลิลิตร
                วิธีแรก อุ่นกาด้วยน้ำร้อนแล้วใส่เมล็ดดอกบัวกับชาเขียวลงไปในกา ชาเขียวจะเป็นตัวเพิ่มรสชาติ จากนั้นรินน้ำร้อนลงบนใบชาและเมล็ดดอกบัว ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีก่อนดื่ม
                วิธีสอง นำเมล็ดบัวที่เตรียมไว้ใส่ลงในกระทะท้องแบนพร้อมกับน้ำเย็น 850 มิลลิลิตร นำไปต้มและปล่อยให้เดือด 1 – 2 นาที แล้วดื่มให้ชื่นใจ

ชาสำหรับบำรุงกำลัง

                Peanut  and ginger Tea หรือ ชาถั่วและชาขิง
                เมื่อคุณรู้สึกล้า และอ่อนแรง ขขอแนะนำ ดังนี้
                ถั่วลิสงดิบ 20 เม็ด
                ขิงหั่นแผ่นบางๆ 5 – 6 แผ่น
                น้ำ 850 มิลลิลิตร
                ควรใช้ถั่วดิบ ซึ่งยังคงมีผิวหุ้มอยู่ และควรเลือกใช้ขิงแก่ที่สดอวบอิ่ม
                วิธีทำ คือ ล้างขิงแล้วฝานเป็นแผ่นบางๆตามขวาง เอาถั่วดิบมาตำหรือบดให้ละเอียด นำถั่วที่บดแล้วใส่ในกา จากนั้นใส่ใบชาลงไป รินน้ำร้อนใส่กา ปิดฝาปล่อยทิ้งไว้ 2 – 3 นาที แล้วดื่มให้ชื่นใจ
ชาสำหรับแก้ร้อนใน

                Yellow Chrysanthemum Tea หรือ ชาดอกเก๊กฮวยสีเหลือง
                ชาดอกเก๊กฮวยจะช่วยลดความร้อนในตัวคุณได้
                ดอกเก๊กฮวยสีเหลือง 10 – 20 ดอก
                น้ำ 850 มิลลิลิตร
                วิธีทำแสนง่ายๆ คือต้มน้ำให้เดือด แล้วรินน้ำร้อนลงบนดอกเก๊กฮวยในกา ปล่อยพักไว้ 2 – 3 นาที ก่อนนำมาดื่ม ถ้าชอบรสหวานให้เติมน้ำตาลนิดหน่อย

                Dry – fried rice tea หรือ ชาข้าวคั่วแห้ง
                เป็นชาที่สร้างความสมดุลของพลังงานความร้อน “หยาง” – Yang “ และความเย็น “หยิน – Yin” ในร่างกาย ซึ่งชานี้สำหรับผู้ที่มีหยินมากเกินไป และต้องการหยางเพิ่มขึ้น
                ในประเทศญี่ปุ่นชานี้เป็นที่นิยม ดังนั้น คุณสามารถซื้อแบบผสมสำเร็จรูปได้เลย
                แนะนำอัตราส่วน ดังนี้
                ข้าวบด 1 ถ้วย
                ใบชาเขียว 1 ถ้วย
                น้ำ 850 มิลลิลิตร
                วิธีทำ คือ คั่วข้าวจนกระทั่งมีสีเหลืองทอง และมีกลิ่นหอม ปล่อยให้ข้าวเย็น เติมชาเขียวลงไป ผสมให้เข้ากัน จากนั้นตักส่วนที่ผสมได้ 5 ช้อนโต๊ะใส่ในกาน้ำชา แล้วเติมน้ำร้อนลงไป ปล่อยทิ้งไว้ 2 – 3 นาทีก่อนดื่ม และสามารถเติมน้ำลงไปในกาได้อีก 1 – 2 ครั้ง

                Eight treasure Tea
                เป็นชาที่ให้พลังงาน สามารถดื่มได้ 2 ครั้งต่อหนึ่งอาทิตย์ ซึ่งส่วนผสม 8 อย่างนั้นเป็นการรักษาสูตรดั้งเดิมตามตำรา หาซื้อส่วนผสมเหล่านี้ได้ตามร้านขายยาสมุนไพร
                อัตราส่วนต่างๆ มีดังนี้
                ชาเขียว
                ดอกเก๊กฮวยสีขาว 2 ดอก
                ส้มปอกเปลือกตากแห้ง 1 ชิ้นเล็ก
                ลำไย 1 ลูก (สดหรือแห้งก็ได้)
                อินทผาลัมสีแดง 1 ลูก
                รากชินเสน 1 ชิ้นบางๆ
                เบอร์รี่ตากแห้ง 1 ลูก
                แอปเปิ้ลตากแห้งหั่นบางๆ 1 ชิ้น
                น้ำตาลนิดหน่อย
                น้ำ 430 มิลลิลิตร
                นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงในกา แล้วรินน้ำร้อนใส่ลงไป ทิ้งไว้ 3 นาที ก่อนดื่ม และคุณสามารถเติมน้ำลงไปในกาได้ประมาณ 1 – 2 ครั้ง

ชาสำหรับแก้โรคท้องร่วง หรือลำไส้อักเสบ

                Mung bean Tea
                Mung bean เป็นถั่วเม็ดเล็กๆ ผิวสีเขียว เนื้อสีเหลือง จะตำหรือบดด้วยเครื่องก็ได้
                อัตราส่วนผสม มีดังนี้
                ใบชา
                ถั่วที่บดแล้ว 1 ช้อนชา
                น้ำ 850 มิลลิลิตร
                น้ำตาลทรายขาว
                ใส่ชาลงในกาชา พร้อมด้วยถั่วที่ถูกบดแล้ว 1 ช้อนชา รินน้ำที่ต้มแล้วใส่ลงไปบนชาในกา เติมน้ำตาลตามชอบ ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 นาที แล้วดื่มให้ชื่นใจ

ชาสำหรับแก้ไอ

                White radish tea หรือ ชาหัวผักกาดขาว
                หัวผักกาดขาวสด
                ใบชา
                เกลือเล็กน้อย
                น้ำ 850 มิลลิลิตร
                ปอกเปลือกหัวผักกาดขาว หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใช้ประมาณ 2 – 3 ซ.ม. เพราะกลิ่นแรงมาก นำไปใส่ในกาชาพร้อมด้วยใบชา เติมเกลือเล็กน้อย จากนั้นรินน้ำร้อนใส่ ปิดฝาไว้ประมาณ 2 – 3 นาที แล้วดื่มให้ชื่นใจ

ชาสำหรับแก้อาการระคายคอ แต่ไม่ไอ

                Liquorice tea หรือ ชาชะเอมเทศ
                ชะเอมเทศของจีนมีสรรพคุณบรรเทาอาการเจ็บคอ และดีต่อระบบทางเดินหายใจ
                อัตราส่วนที่ใช้ชง มีดังนี้
                รากชะเอมเทศตากแห้ง 6 – 7 ชิ้น
                ใบชา
                น้ำ 850 มิลลิลิตร
                หั่นรากชะเอมเทศแห้งใส่ในกาชาพร้อมกับใบชาที่เตรียมไว้ รินน้ำร้อนใส่ในกา ปิดฝากา ปล่อยพักไว้ 5 นาที แล้วดื่มให้ชื่นใจ

ชาสำหรับแก้การติดเชื้อในลำคอ หรือคออักเสบ

                Sweet tea หรือ ชาหวาน
                สูตรนี้จะใช้กลั้วคอ หรือบ้วนปากก็ได้ นอกจากชงสำหรับดื่มแล้ว
                อัตราส่วนที่ใช้ชง มีดังนี้
                ชาเขียว หรือชามังกร
                น้ำตาล
                น้ำ 850 มิลลิลิตร
                วิธีก็คือ ชงชาให้แก่ ตักชาใส่กาประมาณ 4 – 5 ช้อนโต๊ะ แล้วรินน้ำร้อนใส่ในกา เติมน้ำตาล พักไว้ประมาณ 2 – 3 นาที แล้วดื่มให้ชื่นใจ

ที่มา : หนังสือคู่มือคนรักชา "รินใจใส่ชา"

photo : teagalaxy.com